ยกเลิกการแจ้งเตือน

คุณต้องการยกเลิกการแจ้งเตือนข่าวสารเมื่อมีการอัพเดตใช่หรือไม่?

Advertise with Us

ติดต่อเพื่อลงโฆษณากับเราที่นี่!

รถยนต์ ข่าวรถยนต์ รถใหม่ ราคารถยนต์ พริตตี้ รถคลาสสิค รถแต่ง
background

คุ้มหรือไม่…ติดแก๊สรถยนต์ (ตอน 2)

19 เม.ย. 2554 N/A views

หลังจากที่ Thaicarlover.com ได้แนะนำผู้อ่านถึงเรื่อง คุ้มหรือไม่…ติดแก๊สรถยนต์ (ตอน 1) วันนี้เราจะมาแนะนำกันต่อกับหัวข้อเรื่อง คุ้มหรือไม่…ติดแก๊สรถยนต์ (ตอน 2)

หลังจากตอนที่แล้วที่ทาง Thaicarlover.com ได้พูดถึงเรื่อง ความคุ้มค่าเกี่ยวกับการที่จะเสียเงินเพื่อลงทุนติดตั้งแก๊สรถยนต์ไปแล้ว วันนี้เราจะมาพูดถึง ความคุ้มค่าทางด้านจิตใจกันบ้าง

จุดคุ้มทุนด้านจิตใจ

การที่เราตัดสินใจจะติดก๊าซนั้น อีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่ต้องพิจารณาคือ การยอมรับสภาพที่รถอันเป็นที่รักของคุณจะต้องถูกแปลงสภาพ มีถังก๊าซลูกเบ้อเริ่ม วางอยู่ท้ายรถ นอกจากนั้น ในห้องเครื่องยังจะต้องติดอุปกรณ์สำหรับระบบจ่ายเชื้อเพลิงเข้าไปอีก ไหนจะต้องมาพะวงอีกว่า ติดตั้งก๊าซแล้ว จะมีความปลอดภัยแบบไร้กังวล ตัวเครื่องไม่พังก่อนเวลาอันควร และติดไปแล้วจะต้องบำรุงรักษากันอย่างไร ความคิดเหล่านี้จะต้องเกิดขึ้นแน่ๆ เพราะนี่อาจเป็น “ประสบการณ์ครั้งแรก” ที่จะได้สัมผัสกับรถใช้ก๊าซในฐานะ “ผู้ขับขี่”ทั้ง ๆ ที่แต่ไหนแต่ไรมา เราก็อาศัยนั่งรถแท็กซี่ที่ติดตั้งก๊าซกันมานานร่วม 30 ปีกันแล้ว

ในการติดตั้งระบบเชื้อเพลิงใช้ก๊าซเพิ่มเข้าไปในรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็นก๊าซแอลพีจี หรือก๊าซซีเอ็นจีในรถที่ใช้เครื่องยนต์เบนซินทั่วๆ ไปนั้น หลักการพื้นฐานจะไม่ค่อยต่างกันเท่าไรคือ เอาถังบรรจุก๊าซซึ่งมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ความจุของถังประมาณ 50-60 กว่าลิตรในก๊าซ LPG มาไว้ท้ายรถยนต์ แต่ถ้าเป็น CNG จะว่ากันเป็นเนื้อก๊าซ 12-15 กิโลกรัม จากถังที่มีความจุประมาณ 70 ลิตร

Mazda 3 ติดแก๊ส CNG

Mazda 3 ติดแก๊ส CNG

รูปทรง และขนาดของถังก๊าซทั้ง 2 ชนิด ส่วนใหญ่จะเป็นแบบแคปซูลคล้ายกับเม็ดยา คือเป็นทรงกระบอกยาวๆ ส่วนตอนหัวท้ายทั้งสองด้านจะเป็นรูปกลมมน เพื่อการกระจายแรงดันของก๊าซในถังให้ใกล้เคียงกันระหว่างด้านข้าง และหัวท้าย เพราะโดยปกติแล้วรูปทรงของถังบรรจุของเหลว หรือก๊าซที่มีแรงดันสูง ควรจะเป็นทรงกลมเหมือนลูกบอล แรงดันรอบ ๆ ตัวมันถึงจะเท่ากันทุกด้าน แต่ถ้านำถังที่มีรูปทรงกลมๆ แบบนั้นมาใส่ไว้ท้ายรถก็คงจะได้ความจุไม่มาก แถมยังกินเนื้อที่บรรทุกของท้ายรถมากเกินไป จึงต้องมีการเปลี่ยนรูปทรงของถังให้เหมือนกับยืดลูกบอลกลมๆ โดยผ่าครึ่ง แล้วยืดออกห่างจากกัน ส่วนตอนกลางที่ถูกยืดออกไป ก็เลยกลายเป็น ลักษณะท่อกลม ที่เรียกว่าแคปซูลนั่นเอง

เรื่องรูปทรงของถังก๊าซ LPG ในบ้านเรา หลายๆ คนอาจคุ้นเคยกับแบบแคปซูล แต่ในหลายประเทศทั้งในยุโรป และเอเชีย ได้มีการอนุญาตให้ใช้ถังที่มีรูปทรงที่เรียกว่า Toroidal ซึ่งคล้ายกับขนมโดนัทขนาดใหญ่ หรือมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าถังโดนัท ซึ่งจะมีหลายขนาด โดยส่วนใหญ่จะวางลงในช่องยางอะไหล่ท้ายรถได้พอดี ทำให้ไม่เสียพื้นที่เก็บของท้ายรถ แต่ก็เป็นที่น่าเสียดาย เพราะว่าบ้านเราไม่อนุญาตให้ใช้ถังแบบนี้ ก็เลยต้องทนใช้ถังแบบแคปซูลกันไป

ถังแก๊ส LPG แบบแคปซูล

ถังแก๊ส LPG แบบแคปซูล

ถังก๊าซ LPG และ CNG นั้นจะมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง ซึ่งเป็นไปตามคุณสมบัติของตัวก๊าซที่ใช้บรรจุ ถังก๊าซ LPG จะบรรจุเนื้อก๊าซ ที่มีสภาพเป็นของเหลว และมีแรงดันต่ำกว่า คือประมาณ 280-350 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว หรือ 20-25 บาร์ต่อตารางเซนติเมตร ซึ่งใกล้เคียงกับแรงดันน้ำยาแอร์ในระบบทำความเย็น หรือเครื่องปรับอากาศ ความหนาของแผ่นเหล็กกล้าที่นำมาใช้ทำถังจึงมีขนาดอยู่ที่ประมาณ 2-3 มม. ส่วนน้ำหนักของถัง LPG เปล่า ขนาดยอดนิยมคือ 50-60 ลิตร บรรจุได้ประมาณ 20-22 กิโลกรัม แต่ระบบวาล์วควบคุม ความปลอดภัยของถังจะถูกกำหนดเอาไว้แค่ 85% ของปริมาตรของถัง เช่น ถัง 58 ลิตรก็จะเติมก๊าซ LPGเหลวเข้าไปได้เต็มที่เพียง 49.3 ลิตร เป็นต้น

ก๊าซ LPG ที่เติมลงไปในถังจะมีสภาพเป็นของเหลวเหมือนกับน้ำมันเบนซิน หรือดีเซล ดังนั้นจึงต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์วัดระดับก๊าซแบบลูกลอยไว้ในถังเช่นเดียวกับถังน้ำมันรถ นอกจากนั้น ตรงท่อส่งก๊าซ LPG จากถังมายังเครื่องยนต์ก็จะมีปลายท่อแหย่ลงไปรับเอาเนื้อก๊าซเหลวจากก้นถัง ก๊าซ LPG หรือก๊าซเหลวจะสามารถไหลออกจากถังด้วยแรงดันของตัวมันเอง โดยไม่ต้องมีปั๊มคอยดูด และส่งไปตามท่อเหมือนระบบน้ำมัน ซึ่งตราบใดที่เครื่องยนต์ยังทำงาน วาล์วไฟฟ้าที่ควบคุมการจ่ายก๊าซจากถังจะเปิดให้ก๊าซไหลเข้าสู่เครื่องยนต์อยู่ตลอด และจะปิดเมื่อไม่มีกระแสไฟฟ้ามาเลี้ยงวาล์วตัวนี้ หรือว่าเครื่องยนต์ดับ เพื่อป้องกันไม่ให้ก๊าซไหลออกจากถังขณะที่เครื่องยนต์ไม่ทำงาน ซึ่งเป็นระบบความปลอดภัยขั้นพื้นฐานที่ติดมากับระบบจ่ายเชื้อเพลิงก๊าซทั้ง LPG และ CNG

พบกันใหม่กับเทคนิคดีๆ กับการดูแลรักษารถยนต์ สำหรับคนรักรถ จาก Thaicarlover.com ได้ใหม่สวัสดีครับ

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

คุ้มหรือไม่…ติดแก๊สรถยนต์ (ตอน 1)