ยกเลิกการแจ้งเตือน

คุณต้องการยกเลิกการแจ้งเตือนข่าวสารเมื่อมีการอัพเดตใช่หรือไม่?

Advertise with Us

ติดต่อเพื่อลงโฆษณากับเราที่นี่!

รถยนต์ ข่าวรถยนต์ รถใหม่ ราคารถยนต์ พริตตี้ รถคลาสสิค รถแต่ง
background

อุปกรณ์ติดรถยนต์เพื่อรับมือกับเหตุฉุกเฉิน (ตอนที่ 2)

28 มี.ค. 2554 N/A views

โดยใน “อุปกรณ์ติดรถยนต์เพื่อรับมือกับเหตุฉุกเฉิน (ตอนที่ 2)” นี้ เราจะแนะนำถึงอุปกรณ์ซึ่งคุณอาจจะต้องซื้อหาเพิ่มเติม เพื่อให้ปัญหาต่างๆ และการขับขี่ปลอดภัยยิ่งขึ้นครับ เพิ่มเติมจากในตอนที่แล้ว “อุปกรณ์ติดรถยนต์เพื่อรับมือกับเหตุฉุกเฉิน (ตอนที่ 1)” Thaicarlover.com ได้แนะนำผู้อ่านถึงอุปกรณ์ซึ่ง “ต้องมี” จะมีประจำกาย (รถยนต์นะครับ… ไม่ใช่คน)

ถุงมือ ครีมทำความสะอาด และผ้าสะอาด – ต่อให้เป็นงานที่ง่ายที่สุดในการซ่อมแซมหรือบำรุงรักษารถยนต์ ก็ยังทำให้มือของท่านเปื้อนได้เช่นกัน ด้วยอุปกรณ์เหล่านี้ อย่างน้อยก็ไม่ทำให้มือที่เลอะของท่านไปโดนเสื้อผ้า เบาะ หรืออุปกรณ์ภายในรถยนต์ ซึ่งยากต่อการทำความสะอาด

บัตรสมาชิกหรือเอกสาร Roadside Assistance
– ที่สมัครเอาไว้ ให้เก็บไว้ในรถยนต์หรือกระเป๋าสตางค์เพื่อความสะดวกในการติดต่อใช้บริการเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินทุกครั้ง

กล้องดิจิตอล หรือกล้องจากโทรศัพท์มือถือ – เมื่อเกิดอุบัติเหตุกับรถยนต์ เราสามารถใช้กล้องบันทึกภาพและเสียงได้เอง เพื่อไว้เป็นหลักฐาน หรือประโยชน์ต่อการเอาประกันภัย

โฟมปะยาง และเครื่องเติมลมไฟฟ้าแบบพกพา
– เป็นอุปกรณ์ที่ควรซื้อติดรถยนต์ไว้ (สำหรับคนที่อาจจะขี้เกียจเปลี่ยนยางอะไหล่) สำหรับรอยรั่วเล็กน้อยบนยาง โฟมที่ว่านี้จะสามารถเข้าไปอุดรูรั่วเพื่อให้สามารถใช้งานยางรถยนต์ต่อไปได้ แต่ใช้งานเฉพาะกรณีฉุกเฉินเท่านั้น หลังจากที่หาร้านยางรถยนต์ได้ให้รีบทำการแก้ไข อย่างไรก็ตามร้านยางทั่วไปจะไม่ปะยางที่ได้รับการยิงโฟมอุดรั่วมาเพราะว่า ข้างในยางจะเต็มไปด้วยคราบเหนียวของโฟม อย่าลืมว่าโฟมใช้เพื่อการใช้งานแบบชั่วคราวเท่านั้น นอกจากโฟมอุดรั่ว เราอาจใช้เครื่องเติมลมไฟฟ้าแบบพกพาได้ แต่ก็จะทำได้แค่ประวิงเวลาสำหรับรอยรั่วเล็กๆเท่านั้น

กระดาษและปากกา – หลายคนมองข้ามสิ่งเหล่านี้ไป แต่จริงๆ เราใช้ประโยชน์จากมันได้หลากหลาย เช่นเขียนโน้ตเหน็บไว้ที่กระจกหน้ารถยนต์ เป็นต้น

GPS (Global Positioning System) – เมื่อต้องเดินทางไปในที่ใหม่ๆ หรือสถานที่ไม่คุ้นเคย การมีเครื่อง GPS ติดรถยนต์ไปด้วยจะช่วยในเรื่องการบอกพิกัดของตำแหน่งที่อยู่ และที่ๆ จะไปได้อย่างชัดเจนและง่ายขึ้น

และเมื่อต้องเดินทางไกลควรตรวจสอบว่าโทรศัพท์มีแบตเตอรี่เพียงพอต่อการใช้งานไป ตลอดการเดินทางๆ รถยนต์หรือไม่ เพื่อการโทรขอความช่วยเหลือยามเกิดเหตุฉุกเฉินโดยเฉพาะเวลาอยู่ในพื้นที่ เปลี่ยว และควรบันทึกเบอร์โทรศัพท์สำคัญเช่นของสถานีตำรวจท้องที่ ตำรวจทางหลวง (1193), 191, และจส.100 (0-2711-9160-2) เอาไว้ด้วย

พบกันใหม่กับเทคนิคดีๆ เพื่อคนรักรถ และการขับขี่ปลอดภัย จาก Thaicarlover.com ได้ในตอนต่อไป สวัสดีครับ