ยกเลิกการแจ้งเตือน

คุณต้องการยกเลิกการแจ้งเตือนข่าวสารเมื่อมีการอัพเดตใช่หรือไม่?

Advertise with Us

ติดต่อเพื่อลงโฆษณากับเราที่นี่!

รถยนต์ ข่าวรถยนต์ รถใหม่ ราคารถยนต์ พริตตี้ รถคลาสสิค รถแต่ง
background

ต่างกันนะ! Carbon fiber กับ Carbon kevlar

15 ธ.ค. 2557 N/A views

Carbon fiber ( คาร์บอน ไฟเบอร์ ) กับ Carbon kevlar ( คาร์บอน เคฟล่า ) แตกต่างกันอย่างไร ในบางครั้งเพื่อนๆ อาจจะเรียกเหมารวมทั้งสองชนิดว่าหุ้มเคฟล่า ( Kevlar ) หรือหุ้มคาร์บอน ( Carbon ) ทั้งที่จริงๆ แล้ว คุณสมบัติมันต่างกัน แล้วต่างกันอย่างไร? เดี๋ยวผมจะอธิบายให้เพื่อนๆ ได้ทราบครับ

Supercar ที่ทำจาก คาร์บอน ไฟเบอร์

Supercar ที่ทำจาก คาร์บอน ไฟเบอร์

 ทำ คาร์บอน ไฟเบอร์ คุณภาพที่ได้ต่างกันหรือเปล่า?

ปัจจุบัน ชุดแต่งรถยนต์ บอดี้พาร์ท รวมถึงอุปกรณ์เล็กๆ น้อยๆ ที่ทำมาจาก Carbon fiber และ Carbon kevlar เป็นที่นิยมอย่างมากในบ้านเรา แต่…. เราจะรู้ได้อย่างไรว่าคุณภาพของชิ้นส่วนที่เราเสียเงินตั้งแพง เพื่อแลกกับความเท่ห์ และความสวยงามนั้น แข็งแรงได้มาตรฐานเหมือนรถแข่งสูตร 1 หรือเหล่าบรรดา Supercars ทั้งหลาย

วิธีการขึ้นรูป และหุ้มชิ้นส่วน

วิธีการขึ้นรูป และหุ้มชิ้นส่วน

คำตอบคือ…. ดูยากครับ! เพราะผู้ผลิตชุดแต่งทั้งหลายในบ้านเรา หรือแม้กระทั่งทั่วโลก มักประหยัดงบประมาณ โดยไม่ได้ใช้เรซิ่น และน้ำยาสูตรเฉพาะที่มีราคาแพง ดังนั้นคงต้องทำใจครับสำหรับคุณภาพที่ได้ แต่ความสวยงามนั้น ผู้ผลิตบางรายก็สามารถทำได้อย่างยอดเยี่ยม

ใช้ตกแต่งภายใน

ใช้ตกแต่งภายใน

ความต่าง และคุณสมบัติของ คาร์บอน ไฟเบอร์ กับ คาร์บอน เคฟล่า

เข้าเรื่องกันดีกว่าครับ… ในการทำ Carbon fiber นั้น ผู้ผลิตจะนำพลาสติกธรรมดา Polyacrylonitrile (โพลิอะคลิโลไนไทรล์) โดยเราจะเอาโมเลกุลที่ไม่มีความแข็งแรงของมัน มาลำดับโครงสร้างทางเคมีใหม่ โดยมี 4 ขั้นตอนได้แก่

1. Oxidation ขั้นตอนที่เอาเส้นใยมาเผาที่ความร้อนสูง 3,000 องศาเซลเซียส จนมันกลายกลายเป็นสีดำ เมื่อผ่านขั้นตอนนี้จะได้ผ้า Nomex หรือผ้ากันไฟ แต่สำหรับ คาร์บอน ไฟเบอร์ ต้องผ่านอีก 3 ขั้นตอน

2. Carbonisation คือการแยกธาตุทุกชนิดที่ไม่ใช่ คาร์บอน ออกจากเส้นใย โดยนำไปเผาที่ความร้อน 10,000-30,000 องศาเซลเซียสในสูญญากาศ

3. Surface Treatment เคลือบผิวหน้าของเส้นใยด้วยโพลิเมอร์ ให้โครงสร้างเล็กๆ ของเส้นใยสามารถคงรูปอยู่ได้ และทำให้เส้นใยมีความแข็งแรง

4. Surface Coating ขั้นตอนสุดท้ายคือการเคลือบ อีพ็อกซี่ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ได้โดยไม่มีการหลุดรุ่ยเวลานำไปใช้

เส้นใย Carbon fiber

เส้นใย Carbon fiber

เมื่อผ่านกระบวนการทั้ง 4 แล้ว เราก็จะได้ผ้า คาร์บอน ไฟเบอร์ ที่มีความทนทานกว่าเหล็กถึง 5 เท่า และทนแรงดึงได้มากกว่า Titanium มาใช้งานครับ

คาร์บอน ไฟเบอร์ กับ คาร์บอน เคฟล่า ต่างกันอย่างไร?

เปรียบเทียบกันชัดๆ

เปรียบเทียบกันชัดๆ

เริ่มด้วย คาร์บอน ไฟเบอร์ จะสังเกตุได้จากสีของมัน ซึ่งจะเป็นสีเทาดำ ลวดลายสีเหลี่ยมจะสานต่อกันเป็นระเบียบ มีคุณสมบัติแข็งแรง… แต่การให้ตัว การดูดซับแรงกระแทก และการยืดหยุ่นจะน้อยกว่า คาร์บอน เคฟล่า ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสีเหลืองดำ ลวดลายของผ้าจะเป็นแบบลายถักซ้อนกัน และเพื่อความแข็งแรงจึงมีการใช้ทั้ง 2 วัสดุซ้อนทับกันหลายๆ ชั้นครับ

ซุปเปอร์ไบค์ ก็ฮิตไม่แพ้กัน

ซุปเปอร์ไบค์ ก็ฮิตไม่แพ้กัน

รู้กันอย่างนี้แล้ว เพื่อนๆ อย่าเผลอเรียกผิดกันนะครับ! ส่วนในคราวต่อไปทาง Thaicarlover จะมากล่าวถึงการ หุ้มสติกเกอร์ ที่มีลวดลายของ คาร์บอน ไฟเบอร์ และ คาร์บอน เคฟล่า ว่ามีข้อดี และข้อเสียอย่างไร? อย่าลืมติดตามกันนะครับ

เพื่อนๆสามารถติดตามเรื่องราวดีๆ เรื่องอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

เพื่อนๆ สามารถติดตามข่าวสารการเปิดตัวรถยนต์ และนวัตกรรมใหม่ๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ รวมถึงสาระดีๆเกี่ยวกับการดูแลและขับขี่รถอย่างปลอดภัย การจัดแสดงรถยนต์อื่นๆ ได้ที่  Thaicarlover.com ครับ